ASSURE
Model
ASSURE Model เป็นรูปแบบของการวางแผนหรือออกแบบการสอนโดยเน้นการใช้สื่อ
และเทคโนโลยีเป็นองค์ประกอบ และเน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียนเป็นสำคัญ มีแผนการดังนี้
A : Analysis
Learner วิเคราะห์ผู้เรียน
การวิเคราะห์ลักษณะของผู้เรียน จะทำให้ผู้สอนเข้าใจลักษณะของผู้เรียนและสามารถเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียนและบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน การวิเคราะห์ผู้เรียนนั้นจะวิเคราะห์ใน 2 ลักษณะ คือ
1.
ลักษณะทั่วไป เป็นลักษณะที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่จะสอน แต่เกี่ยวข้องกับการเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนโดยตรง ได้แก่ เพศ อายุ ชั้นปีที่เรียน ระดับสติปัญญา ความถนัด วัฒนธรรม สังคม ฯลฯ
2.
ลักษณะเฉพาะ เป็นลักษณะที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่จะสอน ซึ่งจะมีผลต่อการเลือกวิธีการสอนและสื่อการเรียนการสอน ได้แก่
2.1
ความรู้และทักษะพื้นฐานของผู้เรียนในเนื้อหาที่จะสอน
2.2 ทักษะที่เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น
ทักษะด้านภาษา คณิตศาสตร์ การอ่าน และการใช้เหตุผล
2.3 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จะสอนนั้นหรือยัง
2.4 ทัศนคติของผู้เรียนต่อวิชาที่จะเรียน
S : States
Objective กำหนดวัตถุประสงค์
การเรียนการสอน
ในแต่ละครั้งต้องกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน ซึ่งควรเป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
ที่กำหนดความสามารถของผู้เรียนว่าจะทำอะไรได้บ้าง ในระดับใด
และภายใต้เงื่อนไขใดไว้อย่างชัดเจน
เพื่อให้สามารถเลือกใช้วิธีการสอนและสื่อการเรียนการสอนได้เหมาะสม
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่กำหนดขึ้นสำหรับการเรียนการสอนแต่ละครั้ง
ควรให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์ทางการศึกษาทั้ง พุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย
S : Select
Method, Media and Materials เลือกวิธีการ
สื่อและวัสดุการเรียนการสอน
การที่จะมีสื่อที่เหมาะสมในการเรียนการสอนนั้น
สามารถทำได้ 3 วิธีด้วยกัน คือ
1. เลือกจากสื่อที่มีอยู่แล้ว
โดยต้องตรวจสอบสื่อที่เลือกว่าตรงกับ ลักษณะผู้เรียนและวัตถุประสงค์ของการเรียน
2. ดัดแปลงจากสื่อที่มีอยู่แล้ว
ขึ้นกับเวลาและงบประมาณ
3. ออกแบบสื่อใหม่
โดยมีองค์ประกอบหลายประการ เช่น
-
งบประมาณ
-
เครื่องมือ
-
ทักษะการผลิตสื่อ
U : Utilized
Media and Materials นำวิธีการและสื่อวัสดุไปใช้
ขั้นตอนการใช้สื่อการเรียนการสอน มีขั้นตอนที่สำคัญอยู่ 4
ขั้นตอน คือ
1. ศึกษาสื่อนั้นๆ ก่อนเป็นการเตรียมตัว
2. จัดเตรียมสถานที่
3. เตรียมผู้เรียน
4. ควบคุมชั้นเรียน
R : Require Learner Participation การมีส่วนร่วมของผู้เรียน
ผู้สอนต้องจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนให้มากที่สุด โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถ ตอบสนองโดยเปิดเผย ( overt respone ) โดยการพูดหรือเขียน และการตอบสนองภายในตัวผู้เรียน ( covert response ) โดยการท่องจำหรือคิดในใจ เมื่อผู้เรียนมีการตอบสนองผู้สอนควรให้การเสริมแรงทันที
เพื่อให้ผู้เรียนทราบว่าตนมีความเข้าใจและเกิดการเรียนรู้ที่ถูกต้องหรือไม่
โดยการให้ทำแบบฝึกหัด การตอบคำถาม การอภิปราย หรือการใช้บทเรียนแบบโปรแกรม
E : Evaluation
การประเมินผล
หลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแล้ว
จำเป็นต้องมีการประเมินผลกระบวนการเรียนการสอนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ช่วยให้ผู้สอนทราบว่า
การเรียนการสอนบรรลุวัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใดสิ่งที่ต้องประเมินได้แก่
1. การประเมินผลกระบวนการสอน
ในระยะก่อน ระหว่าง หลังการสอน
2.
การประเมินผลสำเร็จของผู้เรียน เช่น การทดสอบ การสอบปากเปล่า
การดูผลงานของผู้เรียน
3. การประเมินสื่อและวิธีสอน
โดยให้ผู้เรียนอภิปราย วิจารณ์การใช้สื่อนั้นๆ หลังจากการใช้
ตัวอย่างการใช้ ASSURE Model
แผนการจัดประสบการณ์
ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลยิ้มสวย
สัปดาห์ที่ 4 หน่วย ฟันของหนู
หน่วยการจัดประสบการณ์ย่อย
การทำความสะอาดฟัน
ชื่อกิจกรรม แปรงฟันนี้ ดีอย่างไร ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่
2 เวลา 40 นาที
สาระสำคัญ
ฟันเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย
ที่ใช้ในการบดเคี้ยวอาหาร
จึงจำเป็นต้องดูแลฟันให้สะอาดด้วยการแปรงฟันอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้ฟันไม่ผุ
ไม่ปวดฟัน ทั้งยังทำให้ฟันขาว และไม่มีกลิ่นปากอีกด้วย
แต่หากไม่แปรงฟันเป็นประจำแล้ว จะทำให้ฟันผุ ปวดฟัน ฟันเหลือง และจะทำให้มีกลิ่นปากอีกด้วย
A : Analysis
Learner วิเคราะห์ผู้เรียน
นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2
โรงเรียนยิ้มสวย(นามสมมุติ) มีทั้งหมด 20 คน เป็นเพศชาย 13 คน เพศหญิง 7 คน โรงเรียนยิ้มสวยตั้งอยู่ในเขตชานเมือง
ผู้ปกครองของนักเรียนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ไม่ค่อยมีเวลาดูแลบุตรหลาน
นักเรียนในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ชอบเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ และชอบฟังนิทาน
พฤติกรรมการกินของนักเรียน
มักจะกินขนมหวานทั้งเวลาที่อยู่โรงเรียนและที่บ้าน
อีกทั้งผู้ปกครองและนักเรียนเองมักจะละเลยการทำความสะอาดฟัน
ทำให้นักเรียนส่วนใหญ่มีปัญหาสุขภาพฟัน การสอนเรื่องทำความสะอาดฟันนอกจากจะทำให้นักเรียนเห็นความสำคัญของการแปรงฟันแล้ว
ยังได้ทราบถึงวิธีการแปรงฟันที่ถูกต้องอีกด้วย
S : States
Objective กำหนดวัตถุประสงค์
1.
ผู้เรียนสามารถบอกประโยชน์ของการแปรงฟันได้
2.
ผู้เรียนสามารถบอกโทษของฟันผุได้
3.
ผู้เรียนสามารถบอกช่วงเวลาที่ต้องแปรงฟันได้
4.
ผู้เรียนสามารถแปรงฟันได้อย่างถูกวิธี
S : Select
Method, Media and Materials เลือกวิธีการ
สื่อและวัสดุการเรียนการสอน
1. เลือกจากสื่อที่มีอยู่แล้ว
- คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
2. ดัดแปลงจากสื่อที่มีอยู่แล้ว
- แปรงฟัน ยาสีฟัน
- คลิปเพลง “แปรงฟัน
12 ด้าน”
3. ออกแบบสื่อใหม่
- ภาพหน้าของหนูนิด แปรงฟัน ยาสีฟัน ขนมหวาน (สำหรับการเล่านิทาน)
สื่อประกอบการเล่านิทานเรื่อง "หนูนิดไม่ยอมแปรงฟัน" |
U : Utilized
Media and Materials นำวิธีการและสื่อวัสดุไปใช้
1. เล่านิทานประกอบสื่อเรื่อง
“หนูนิดไม่ยอมแปรงฟัน”
2. ตั้งคำถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการกิน
และการแปรงฟันของหนูนิด
3. สอนวิธีการแปรงฟันอย่างถูกวิธี
โดยใช้การแปรงฟันประกอบเพลง
4. ให้นักเรียนแปรงฟันประกอบเพลง
5. ตั้งคำถามถึงประโยชน์ของการแปรงฟัน
โทษของฟังผุ และช่วงเวลาที่ต้องแปรงฟัน
R : Require
Learner Participation การมีส่วนร่วมของผู้เรียน
ระหว่างการเล่านิทาน
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับพฤติกรรมของหนูนิดให้นักเรียนได้ตอบ
และเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องราวของหนูนิด และหลังจากนั้นนักเรียนได้ลงมือแปรงฟันของตนเองอย่างถูกวิธี
ตามเพลงที่ครูเปิดให้ฟัง
E : Evaluation
การประเมินผล
1. การประเมินผลกระบวนการสอน
-
ประเมินจากการสังเกตการตอบคำถามของนักเรียน ในระหว่างการเล่านิทาน
-
ประเมินจากการตอบคำถามของนักเรียนหลังจากเสร็จสิ้นการเรียนการสอน
2.
การประเมินผลสำเร็จของผู้เรียน
-
ประเมินจากคำตอบของนักเรียนในการตอบคำถาม
- ประเมินจากความถูกต้องของการลงมือแปรงฟันของเด็ก
3. การประเมินสื่อและวิธีสอน
-
ประเมินจากการให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม การตั้งใจฟังนิทาน
และแปรงฟันตลอดกิจกรรม